
5 ไอเดียสุดเจ๋ง เลือกภาพพื้นหลังให้สวยงามไปใช้งานกราฟฟิคดีไซน์
5 ไอเดียสุดเจ๋ง เลือกภาพพื้นหลัง(background) ไปเอาใช้ในงาน graphic design ให้เหมาะสม แถมช่วยให้เนื้อหาดูโด่ดเด่น ไม่ซ้ำใคร จะเป็นยังไงบ้างไปดูกัน
5 ไอเดียสุดเจ๋ง เอาไปใช้งานกราฟฟิค ดีไซน์ ให้สวยงาม ไม่ซ้ำใคร จะเป็นยังไงบ้างไปดูกันได้เลย !!
1. Texture เพิ่มอารมณ์ชิ้นงาน
– Texture เป็นตัวเลือกที่ดีในการสร้างอารมณ์ของชิ้นงาน สามารถกำหนดรูปแบบของงานจากการเลือกใช้ Texture เป็น Background เช่น การเลือกใช้ Texture ลายกระดาษสีน้ำตาลจะทำให้งานไม่ดู Digital เกินไป
เหมาะกับงานที่ทำเกี่ยวกับของ hand made หรือการ์ดเชิญที่ให้ความรู้สึกเป็นกันเอง เทคนิคการเลือกใช้ Texture นั้นต้องจำให้ขึ้นใจเลยว่าเมื่อไหร่ที่เราใช้ texture เป็นพื้นหลัง แล้วองค์ประกอบต่างๆ ที่จัดวางไว้บนงานจะต้องน้อยลงตามไปด้วย
เพราะ texture มีลวดลายของมันอยู่แล้ว ถ้าไม่ใส่ใจตรงนี้งานเราจะดูรกจนเกินความจำเป็น
2. Solid Color (สีพื้น)
– การใช้สีพื้นๆ ดูเหมือนจะธรรมดา แต่ว่าช่วยให้เราใส่ไอเดียลงไปได้อย่างไม่จำกัด หากเราเลือกสีพื้นหลังให้ตัดกับองค์ประกอบอื่นๆ ภายในภาพมันจะสร้าง impact ให้กับงานของ อย่างเช่น พื้นหลังสีดำ ไอคอนสีเหลือง
ขณะเดียวกันถ้าเลือกสีพื้นหลังและองค์ประกอบที่กลมกลืนใกล้เคียงกันงานดีไซน์ของเราก็จะดูนุ่นนวล เทคนิคการใช้ solid color ไม่ให้น่าเบื่อ คือ ลองแบ่งช่อง background เป็นสองช่อง แต่ละช่องใช้สีพื้นหลังเป็นคนละสี
และลองปรับสมดุลย์ขององค์ประกอบทั้งสองช่องให้พอดี
3. ใช้ภาพเป็นพื้นหลัง
– รูปภาพเป็นสิ่งที่ดึงดูดความสนใจของคนดูได้ดีและไวที่สุดลองเลือกภาพสวยๆ มาสักภาพ แล้ว crop เอาแต่ส่วนที่จำเป็น ใส่ตัวหนังสือหรือไอคอนกราฟิกลงไป เทคนิคการใช้รูปภาพเป็นพื้นหลังนั้นมีอยู่ด้วยกันหลายเทคนิค ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับ
ความเหมาะสมของแต่ละภาพและอารมณ์ของงานเรา สามารถใช้ช่องว่างหรือ white space ของภาพเพื่อใส่องค์ประกอบอื่นๆ หรือเลือกใช้สีฟ้อนต์ที่ตัดกับสีของภาพ เบลอภาพให้มัวแล้วเอามาตั้งเป็นพื้นหลัง หรือจะสาดสีลงไปบนภาพแล้วปรับโหมด
เป็น Color overlay หรืออะไรก็ได้ที่เราต้องการ
4. เพิ่มความโดดเด่นด้วย Pattern
– การใส่ pattern ลงไปบนพื้นหลังของงานก็น่าสนใจไม่น้อย เพราะ pattern เป็นเหมือน texture ที่สามารถกำหนดอารมณ์ของงานได้ เทคนิคในการใช้คือลองสร้าง shape ขึ้นมาทับ pattern นั้นดูอีกที ให้ลวดลายของ pattern ปรากฎเฉพาะแค่ในส่วนที่
จำเป็นเท่านั้น เมื่อทราบไอเดียการเลือก Background กันแบบคร่าวๆ ทีนี้ถึงคราวที่ทุกท่านต้องลองไปทำเองแล้ว จะได้รู้ว่างานของเราเหมาะกับการใช้ background แบบไหนมากที่สุด
5. ไล่สีด้วย Gradient
– เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดีในการสร้าง Background ให้กับงานดีไซน์ เพราะการไล่สีตั้งแต่สองเฉดขึ้นไปจะดึงดูดสายตาของผู้ชมมากกว่าการใช้สีพื้นแบบ solid color แต่ในขณะเดียวกันก็ดูไม่รก มีพื้นที่ให้แต่ละส่วนของงานได้หายใจ
ไม่จำเป็นต้องระวังเรื่ององค์ประกอบของงานมากเท่า Texture ด้วย

