Uncategorized

7 เคล็ดลับการเลือกฉากหลังให้ภาพถ่าย มีอะไรกันบ้างนะ?

Spread the love

7 เคล็ดลับการเลือกฉากหลังให้ภาพถ่าย มีอะไรกันบ้างนะ?

7 เคล็ดลับการเลือกฉากหลังให้ภาพถ่าย มีอะไรกันบ้างนะ?เป็นการแนะนำการถ่ายภาพเพื่อให้เกิดความน่าสนใจ ซึ่งเรามักจะเข้าใจกันดีอยู่แล้วแหละว่า สิ่งที่เราให้ความสำคัญนอกจากตัวแบบหลักนั่นก็คือเรื่องของ “ฉากหลัง” นั่นเองครับ เพราะอะไรล่ะ!? เพราะว่าฉากหลังสามารถที่จะเป็นส่วนในการเสริมเรื่องราวให้กับภาพ และทำให้ตัวแบบดูเด่นขึ้นก็ได้ครับ เดี๋ยวเรามาดูวิธีการเลือกฉากหลังกัน

1. ใช้ฉากหลังที่ดูเรียบง่าย

บ่อยครั้งที่เราพบว่าฉากหลังบางทีอาจจะดูรกมากเกินจนแย่งความโดดเด่นของตัวแบบหลักเรา สิ่งที่เราทำได้ง่ายที่สุดก็คงจะเป็นการเลือกฉากหลังที่มันดูเรียบง่ายไปเลย ซึ่งนั่นจะทำให้ Subject ดูเด่นและมีความสำคัญมากขึ้นครับ

การเลือกฉากหลังที่เรียบง่ายให้กับภาพบุคคลก็สามารถทำได้นะ

2. ใช้การละลายหลัง หรือการเว้นระยะระหว่างแบบกับฉากหลัง

เรื่องของการละลายฉากหลังก็ยังคงเป็นเรื่องที่ใช้ได้ดีอยู่ เราอาจจะเลือกที่จะใช้เลนส์ที่รูรับแสงกว้างเพื่อที่จะละลายฉากหลังให้มากขึ้น และหาจังหวะหรือจัดองค์ประกอบเพื่อให้ตัวแบบห่างจากฉากหลังเพื่อให้เกิดการเบลอที่ฉากหลังนั่นเองครับ ทำให้เราสามารถที่จะจับจังหวะของตัวแบบได้โดดเด่นและก็ยังมีเรื่องราวที่ฉากหลังให้เห็นบ้างได้ด้วย

อ่านบทความเจาะเนื้อหาแบบละเอียดสำหรับมือใหม่ในเรื่องของระบบโฟกัสและการโฟกัส

 

3. การถ่ายเจาะ หรือ Crop ภาพก็ได้

บางครั้งภาพที่เราถ่ายอาจจะเก็บเรื่องราวมาเยอะจนทำให้จุดสนใจ หรือแบบหลักในภาพมันโดนลดความสำคัญลง การ Crop ภาพ หรือการเลือกถ่ายเจาะจงตัวแบบนั้น ๆ ลงไปเลย จะทำให้เราระบุสิ่งสำคัญในภาพถ่ายเพื่อนำมาสื่อสารกับคนดูได้อย่างชัดเจน การทำแบบนี้จะแก้ปัญหาเรื่องฉากหลังที่รก แล้วก็ยังทำให้ตัวเรื่องหลักของเราโดดเด่นขึ้นได้ครับ

4. ถ่ายภาพให้เกิดความสมดุล

หากเราถ่ายภาพท่องเที่ยว หรือการที่จะถ่ายเพื่อเก็บบรรยากาศซึ่งเราไม่สามารถไปทำอะไรกับสิ่งที่อยู่ตรงหน้าได้ การจัดวางมุมภาพให้ดูสมดุลกันและเล่าเรื่องเป็นเรื่องราวเดียวกัน ก็จะทำให้ฉากหลังนั้นลงตัวกับเรื่องราวหลังได้ด้วยครับ

ในบทความการถ่ายภาพให้เกิดความสมดุลผมเคยเขียนเอาไว้แล้ว สามารถตามไปอ่านในนี้ได้เลยนะครับ

1. ค่ารูรับแสง (ค่า f) ยิ่งน้อย ยิ่งเบลอ : ถ้าเป็นโหมดในกล้องคือโหมด A มาจาก Aperture ที่แปลว่า “ช่อง” หรือ “รู” นั่นเอง ยิ่งค่ารูรับแสง (f) เลขน้อยเท่าไร จะยิ่งเบลอหลังได้มาก ถ้าค่ารูรับแสงเลขโหดๆ ที่เราเห็นกันบ่อยๆ ก็เช่น f1.4/ f1.8 ถ้าเป็นคนเล่นกล้อง ไม่ว่าจะเป็น DSRL หรือ Mirrorless ซื้อเลนส์แยกก็จะรู้ว่า “เลนส์” ถ้าค่ารูรับแสงเลขยิ่งน้อย ราคาก็จะยิ่งโหดตามไปด้วย แต่จริงๆ ในกล้องเอง หรือแม้แต่ในสมาร์ทโฟนเอง เราก็สามารถเลือกปรับค่ารูรับแสงได้ เอาเป็นว่า เพื่อไม่ให้ซับซ้อน จำไว้แค่ว่า “ยิ่งค่า f น้อย หลังยิ่งเบลอเยอะ”

2. วัตถุใกล้กล้อง เหลือพื้นที่ข้างหลังเยอะ : อันนี้เป็นหลักการคลาสสิก ถ้าอยากให้ฉากหลังวัตถุที่เราต้องการโฟกัสละลาย ให้เอาวัตถุไปตั้งในที่โล่งๆ ห่างออกมาจากกำแพงหรืออะไรก็ตามแต่ที่จะจำกัดพื้นที่ในการเบลอ ระยะห่างระหว่าง 3 สิ่งคือ “กล้อง/วัตถุ/ฉากหลัง” มีความสัมพันธ์โดยตรงกับ “ความเบลอ” ยิ่งวัตถุกับฉากห่างกันมากเท่าไร ความเบลอก็มากขึ้นไปด้วย

3. ซูมเข้าไป! : วิธีลัดง่ายๆ อีกหนึ่งอย่างคือ เราสามารถซูมกล้องเข้าไปใกล้วัตถุให้มากขึ้น ถ้าศัพท์ให้วงการกล้องเขาเรียก “ระยะเลนส์” จะรู้กันว่า เลขระยะเลนส์ยิ่งเยอะ จะยิ่งเบลอหลังได้มาก เช่น 50mm/85mm ขึ้นไป ฯลฯ แต่ถ้าเราไม่มีงบพอไปซื้อเลนส์หลายๆ ระยะ ก็มีวิธีโกง แบบ “ซูมเข้าไป!” เนี่ยแหละค่ะ ยิ่งซูมเยอะ หลังยิ่งเบลอเยอะ ลองดูค่ะ!

4. วัตถุยิ่งเล็ก ยิ่งเบลอหลังได้เยอะ : นี่เป็นสัจธรรมค่ะ จริงๆ มันก็หลักการเดียวกันกับข้อ 2 คือ ถ้าวัตถุเล็ก ก็แปลว่าในเฟรมภาพเราจะเหลือพื้นที่ข้างหลังเยอะกว่า ทำให้หลังมีโอกาสเบลอได้มากกว่านั่นเอง ต้องลองด้วยตัวเอง เอาวัตถุ 2 ขนาดมาเทียบกัน จะเห็นว่าของชิ้นเล็ก หลังเบลอได้เยอะกว่าจริงๆ เอ๊ หรือจะเป็นที่มาว่าเวลาถ่ายภาพคนสวยๆ หลังเบลอๆ เป็นเพราะนางแบบหน้าเล็ก ภาพเลยออกแนวหน้าชัดหลังเบลอได้มากกว่าด้วยนะ

นี่แหละค่ะ หลักการง่ายๆ ลองทำตามกันดู มีแค่นี้เอง ขอให้ทุกคนมีความสุขกับการถ่ายภาพ และสุขยิ่งกว่าเมื่อมีภาพงามๆ ไว้ลง 😀 ไว้ครั้งหน้าจะหากิมมิกถ่ายภาพมาฝากกันอีกนะคะ หรืออยากรู้เรื่องอะไรก็ถามกันมาได้

5. ลองเปลี่ยนมุมมองจากสถานที่เดิมดู

บางครั้งเพื่อให้เราได้ภาพถ่ายที่ดีขึ้น โดยเฉพาะการถ่ายภาพท่องเที่ยว เราเพียงแค่ลองเปลี่ยนตำแหน่งของการถ่ายภาพ หรือเปลี่ยนมุมถ่ายภาพดู จัดองค์ประกอบใหม่ครับเพื่อให้ฉากหลังและตัวแบบในภาพเป็นเรื่องราวเดียวกัน

การเปลี่ยนมุมมองเหมือนจะไม่ใช่เทคนิคอะไร แต่จริง ๆ แล้วถ้าสังเกตดี ๆ การที่เราเปลี่ยนมุมมองใหม่เราสามารถเลือกได้นะว่าจะเอาอะไรใส่เข้ามาในเฟรมภาพของเราหรือเราจะเลือกเอาอะไรออกจากเฟรมภาพที่มันรบกวนแบบหลักก็ได้ครับ ทำให้เรื่องราวในภาพมันดูลงตัวมากขึ้น

 

6. ใช้เลนส์ที่มีทางยาวโฟกัสเยอะหน่อย

การใช้เลนส์ที่มีระยะโฟกัสที่เยอะขึ้น ทำให้ฉากหลังที่เราถ่ายกับตัวแบบนั้นถูกดึงเข้ามาใกล้ตัวแบบมากขึ้น นอกจากนี้ระยะซูมยิ่งมาก ฉากหลังก็จะโดนดึงเข้าหาแบบได้มากขึ้น หรือจะเลือกละลายฉากหลังก็ยังทำได้ครับ

การใช้เลนส์ TELEPHOTO สามารถที่จะดึงฉากหลังเข้าใกล้แบบได้นะ

7. การใช้กรอบภาพ สร้างจุดสนใจให้กับตัวแบบหลักของภาพ จะเป็น Foreground หรือ Background ก็ได้นะ

การใช้กรอบภาพตามธรรมชาติเป็นอีกหนึ่งวิธีในการเลือกฉากหลังที่ช่วยให้สายตาของคนดูเพ่งไปที่ศูนย์กลางของกรอบนั้น เราสามารถที่จะเอาคน หรือเรื่องราวหลักใส่เข้าไปในกรอบก็ได้ครับ


Comments Off on 7 เคล็ดลับการเลือกฉากหลังให้ภาพถ่าย มีอะไรกันบ้างนะ?